top of page
Writer's pictureBall Phuthanet

ฝึกงานวันที่ 5 (10/6/62)

Updated: Jul 26, 2019

-ศึกษาระบบ Network (OSI Model)

-ศึกษาความแตกต่างระหว่าง TCP และ UDP


 

อ่านตามลิงค์นี้เลยครับ http://netprime-system.com/osi-model-7-layers

ถ้าสรุปสั้นๆคือ OSI มี 7 Layer แล้วที่เราอยากยุ่งนี้คือ Layer 4 (Transport Layer) ซึ่งจะมี TCP กับ UDP ซึ่งมันจะมีข้อดีข้อเสียต่างกัน โดยที่เราอยากจะใช้คือ TCP


ข้อมูลข้างล่างนี้มาจาก https://msit5.wordpress.com

TCP และ UDP ต่างก็เป็น protocol สำคัญที่อยู่ใน transport layer protocol  ซึ่งถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติหน้าที่การทำงานที่เหมาะกับงานที่แตกต่างกัน คุณสมบัติของทั้งสอง protocol ดังกล่าวมีดังต่อไปนี้


TCP – Reliable  ไว้วางใจได้ว่าข้อมูลที่ส่งไปจะถือผู้รับอย่างแน่นอน ซึ่ง TCP จะมีการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งไปนั้นถึงผู้รับจริง ๆ หรือไม่ ถ้าไม่ถึง TCP ก็จะทำการส่งข้อมูลนั้นไปให้ใหม่อีกครั้ง – Connection-oriented มีการเชื่อมต่อช่องทางการรับส่งข้อมูลก่อนที่จะเริ่มส่ง เป็นการเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ระหว่างเครื่องผู้รับและผู้ส่ง เช่น socket (ดูเพิ่มเติมเรื่อง socket) หน่วยความจำ และตัวแปรที่ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้การรับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทางเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ – Flow control มีการควบคุมปริมาณข้อมูลที่รับส่งระหว่างต้นทางและปลายทาง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝั่งผู้ส่ง ส่งข้อมูลมากจนเกินกว่าที่ buffer ของฝั่งผู้รับจะรับได้ – Congestion control เป็นการควบคุมปริมาณการส่งข้อมูลเช่นกัน แต่เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งข้อมูลเข้าไปในเครือข่าย ที่ ณ ขณะนั้นมีความหนาแน่นของข้อมูลสูงมาก ซึ่งมีความเสี่ยงที่ข้อมูลที่ส่งเข้าไปจะไปไม่ถึงผู้รับ

ในทางตรงกันข้ามเมื่อเราหันมาดูคุณสมบัติของ UDP บ้าง จะเป็นดังนี้


UDP – Unreliable ไม่รับประกันว่าข้อมูลจะถึงผู้รับหรือไม่ – Connectionless ไม่มีการสร้างช่องทางการรับส่งข้อมูลก่อนเริ่มส่ง – No flow control ไม่มีการควบคุมปริมาณการรับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง – No congestion control ไม่มีการควบคุมปริมาณการส่งข้อมูลระหว่างที่เครือข่ายมีความหนาแน่นสูง

ถ้าดูการเปรียบเทียบข้างบน ก็คงจะรู้สึกได้ว่า TCP นั้นดีกว่า UDP อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ในความเป็นจริง UDP ก็มีข้อดีที่เหนือกว่า TCP อยู่หลายข้อ


ข้อดีของ UDP – เริ่มต้นส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเพราะไม่ต้องรอการสร้าง connection – ส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเพราะไม่ต้องรอการตรวจสอบ – ส่งข้อมูลได้ปริมาณมากว่าเพราะไม่มี flow control และ congestion control

จากข้อแตกต่างข้างต้นดังกล่าว ทั้งสอง protocol จึงเหมาะที่จะใช้กับงานที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

TCP  จะใช้ในการรับส่งข้อมูลของ protocol บน application layer ที่ต้องการความน่าเชือถือสูง ดังต่อไปนี้ – SMTP – Telnet – HTTP – FTP


UDP จะเหมาะกับการรับส่งข้อมูลของ protocol บน application layer ยินยอมให้ข้อมูลบางส่วนสูญหายได้โดยไม่กระทบต่อคุณภาพของข้อมูลในภาพรวม ดังต่อไปนี้ – NFS – Streaming multimedia – Internet telephony – SNMP – RIP – DNS


แต่ในปัจจุบันเนื่องจากเทคโนโลยีความเร็วของเครือข่ายได้พัฒนาไปมาก จึงมีการนำ TCP มาใช้ในการรองรับการทำงานของ application ที่เคยทำงานบน UDP  เช่น streaming multimedia หรือวีดีโอออนไลน์ และ internet telephony หรือการใช้โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์ ในปัจจุบันก็มีการใช้งานบน TCP  ในจำนวนที่พอ ๆ กับ UDP


โดยที่เราสนใจนั้นจะเป็น TCP เพราะมีความน่าเชือถือสูงโดยที่ Flowchart ของมันก็จะหน้าตาเป็นแบบนี้


เดียวแปะลิงค์ที่ไปดูมาละกันนะลองไปดูๆ



4 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page